อุปสรรคและวิธีรับมือปัญหา ธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อความสำเร็จในการสร้างธุรกิจ

ธุรกิจ, sme, tumtook, โรงพิมพ์แพคเกจจิ้ง, ผลิตสินค้าแพคเกจจิ้ง

การเริ่มต้นทำธุรกิจแฟรนไชส์ อย่าเรียนรู้ที่จะฟังข้อมูลเพียงด้านเดียวแต่ต้องรู้จักศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้จัก อุปสรรค์ในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นและเตรียมตัวรับมือให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จเพราะหากศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านมีความเข้าใจที่แท้จริง การทำธุรกิจแฟรนไชส์ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเสมอไป 

อุปสรรคที่มีโอกาสพบในการทำธุรกิจแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจสำเร็จรูปที่หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ แต่ก็มีข้อความระมัดระวังที่นักลงทุนต้องรู้ให้เท่าทันอุปสรรค์ในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเตรียมรับมือกับการทำธุรกิจให้การดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ไปให้รอดจนสามารถทำกำไรได้ทะลุเป้าที่ต้องการ ซึ่งสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ มีดังนี้

  1. ต้นทุนสูง 

ก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ จะต้องสำรวจทำเลความต้องการของตลาดดูเงินลงทุนของผู้ซื้อแฟรนไชส์และสัญญา และสิ่งสำคัญที่สุดคืออย่าลืมดูราคาวัตถุดิบที่เราต้องซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์ เพราะมีเจ้าของแฟรนไชส์ขายแฟรนไชส์ในราคาถูกก็จริง แต่ราคาวัตถุดิบอาจจะมีราคาสูงได้ ทำให้กำไรของคนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ได้กำไรน้อย ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องดูรายละเอียดให้ครบถ้วนและหากราคาวัตถุดิบสูงจริงก็ลองทำการเจรจาตกลงกันว่าสามารถซื้อวัตถุดิบจากแหล่งอื่นในราคาที่ถูกกว่าได้หรือไม่ หรือสามารถทำการเจรจาเพื่อขอเพิ่มเมนูใหม่ที่มีต้นทุนต่ำกว่าได้กำไรสูงมาขายควบคู่กัน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องไม่ผิดเงื่อนไขในสัญญาที่ตกลงกันไว้ 

  1. เลือกทำเลให้ดี 

การเลือกทำเลมีส่วนสำคัญต่อความอยู่รอดของธุรกิจแฟรนไชส์ แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะมีชื่อเสียงโด่งดังแต่หากเลือกทำเลผิดพลาดก็มีโอกาสเจ๊งได้เหมือนกัน ดังนั้นมือใหม่ที่กำลังคิดอยากจะลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ จะต้องศึกษาทำเลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน 

  1. ไม่ได้รับการดูแลจากแฟรนไชส์ซอร์ 

ปัญหาไม่ได้รับการดูแลจากแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนใหญ่จะพบจากการซื้อแฟรนไชส์ซีที่ซื้อแฟรนไชส์แบบที่ไม่ต้องจ่ายค่า Royalty fee ซึ่งก็คือค่าสิทธิ์ หรือค่าธรรมเนียมการจัดการรายเดือน ที่เรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย เมื่อเกิดปัญหาแบบนี้ต้องลองพูดคุยกับแฟรนไชส์ซอร์ เพื่ออธิบายถึงความคาดหวังและความต้องการในการดูแลด้านการตลาดและลองสอบถามข้อมูลว่ามีวิธีใดที่สามารถจะร่วมมือกันโดยการได้รับการสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดได้บ้าง และผู้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์เองก็ต้องวางแผนและพัฒนาการตลาดด้วยตัวเองเช่นกันเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์ของเราเอง 

การลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่รู้ให้เท่าทันอุปสรรค์ในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ เตรียมรับมือในการดำเนินธุรกิจและศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน และต้องรู้จักประเมินธุรกิจให้รอบคอบเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง เพราะแฟรนไชส์คือธุรกิจที่ตอบโจทย์ในการเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายและเร็วเป็นทางเลือกสำหรับการทำธุรกิจได้ดีในรูปแบบหนึ่ง และสิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเลือกแฟรนไชส์ที่ดี และความตั้งใจทุ่มเทจริงจังของตัวผู้ลงทุนนั่นเอง


สนใจติดต่อผลิตสินค้าแพคเกจจิ้ง และอุปกรณ์ออกบูธ
คลิ๊ก >> Tumtook.com/Addline
Add Line : @Tumtook

Comment Box

บทความดีๆที่แนะนำ

บูธชงชิม และ โต๊ะออกบูธ เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยม...

ไอเดียและแรงบันดาลใจในการ ออกแบบ เคาน์เตอร์ออกบูธ สามาร...

ถุงกระดาษใส่แก้วกาแฟ เป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่ผลิตมาจาก...

หลายธุรกิจได้ใช้ ป้ายแบคดรอป (Backdrop) เป็นป้ายโฆษณายอ...

สมัครงาน กับ Tumtook

กรอกข้อมูลให้สมบูรณ์