ความหมายของ ESG คืออะไร? สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Environment Social Governance ในธุรกิจ

ความหมายของ ESG

ESG (ภาษาอังกฤษ: Environment Social Governance) คือกรอบการบริหารจัดการธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม, สังคม, และการทำงาน โดยมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจในปัจจุบัน สามารถกำหนดยอดขายและกำไรของบริษัทได้อย่างมั่นคง รวมถึงเป็นเกณฑ์วัดมาตรฐานคุณภาพ ในการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่ ESG ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในทุกอุตสาหกรรม องค์กรธุรกิจจึงควรให้ความสำคัญกับ ESG โดยสามารถค้นหาความสำคัญ และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ ESG ได้จากบทความนี้

ESG คืออะไร?

ESG ย่อมาจากคำว่า Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม), Governance (ธรรมาภิบาล) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินกิจการอย่างมั่นคง และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเมื่อผู้บริโภคและนักลงทุนยุคใหม่ ได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากกว่าผลกำไรเพียงอย่างเดียวมากขึ้น ทำให้บริษัทที่ได้รับการประเมิน ESG ผ่านเกณฑ์ จะทำให้มีโอกาสสร้างรายได้ทางธุรกิจมากกว่า

สรุปได้ว่า ESG คือกรอบแนวทางที่ช่วยให้องค์กรดำเนินงาน โดยคำนึงถึง

  • Environment (สิ่งแวดล้อม): การลดผลกระทบต่อธรรมชาติ
  • Social (สังคม): การรับผิดชอบต่อพนักงานและชุมชน
  • Governance (ธรรมาภิบาล): การบริหารจัดการที่โปร่งใส

ทำไม ESG ถึงมีความสำคัญ?

ในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจ การบริหารจัดการ ESG ได้อย่างถูกต้อง จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินความน่าเชื่อถือขององค์กร ส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่ ตัดสินใจเลือกลงทุนในธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานด้าน ESG ผ่านเกณฑ์ที่ดี เพราะเป็นการแสดงถึงความมั่นคงทางธุรกิจในระยะยาว

องค์ประกอบของ ESG มีอะไรบ้าง

 ESG ประกอบด้วย 3 หลักการสำคัญ ซึ่งช่วยกำหนดทิศทางให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างสมดุลและยั่งยืน ดังนี้

  1. Environment (สิ่งแวดล้อม):
    องค์กรต้องให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และปฏิบัติตามแนวทางที่ช่วยปกป้องธรรมชาติ การครอบคลุมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การใช้พลังงานทดแทน และการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ
    ตัวอย่าง:

    • การใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แทนการใช้น้ำมันหรือพลังงานไฟฟ้า
    • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission)
    • การจัดการของเสียอย่างยั่งยืน
    • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ
  2. Social (สังคม):

    ธุรกิจต้องแสดงความรับผิดชอบต่อพนักงาน ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการสร้างสังคมที่เท่าเทียม เช่น การจ้างงานที่เป็นธรรม, สุขภาพและความปลอดภัย, และการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนขององค์กร
    ตัวอย่าง:

    • การจัดโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนหรือสนับสนุนการศึกษาภายในองค์กร
    • การจ้างงานที่เป็นธรรมและเสมอภาค
    • การสนับสนุนสิทธิมนุษยชน
    • การส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพในสถานที่ทำงาน
  3. Governance (การกำกับดูแลกิจการ) :
    หลักบรรษัทภิบาล องค์กรต้องมีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ปฏิบัติตามกฎหมาย และยึดหลักจริยธรรม  ที่แสดงถึงความโปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กร เช่น การป้องกันคอร์รัปชัน, ความเท่าเทียมภายในองค์กร และความหลากหลายในคณะกรรมการบริหาร
    ตัวอย่าง:

    • การป้องกันและตรวจสอบการคอร์รัปชัน
    • การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินอย่างโปร่งใส
    • การมีคณะกรรมการที่มีความหลากหลาย
    • การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาว
    • การรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับ ESG ให้กับผู้ถือหุ้นทราบตามวาระโอกาส

ESG คืออะไร? สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Environment Social Governance

เหตุผลที่บริษัทต้องใช้ ESG

1. สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ธุรกิจที่ปฏิบัติตามแนวทาง ESG มักจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและนักลงทุนมากกว่า เพราะ

  • ลูกค้าสมัยใหม่ต้องการสนับสนุนแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • นักลงทุนเลือกธุรกิจที่ดำเนินการอย่างโปร่งใสและลดความเสี่ยงในอนาคต

2. ลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมาย

การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่เข้มงวดขึ้นในหลายประเทศ ทำให้ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวต้องเผชิญความเสี่ยง เช่น

  • ค่าปรับจากการปล่อยมลพิษเกินกำหนด
  • การสูญเสียความเชื่อมั่นหากไม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

3. ตอบสนองความคาดหวังของนักลงทุน

นักลงทุนสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน

  • ธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่ดีมักจะดึงดูดเงินลงทุนได้มากกว่า
  • การเปิดเผยรายงาน ESG ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้น

4. ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร

แบรนด์ที่ใส่ใจ ESG จะถูกมองว่าเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบและสร้างผลกระทบเชิงบวก

  • ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและบริการ
  • เพิ่มความภักดีของลูกค้าในระยะยาว

5. สร้างความยั่งยืนในระยะยาว

การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เช่น

  • การลดพลังงานและทรัพยากรที่สิ้นเปลือง
  • การปรับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลัก ESG

  • สร้างความน่าเชื่อถือ: ลูกค้าและนักลงทุนไว้วางใจในธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ
  • ลดความเสี่ยง: ช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมาย
  • เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ: ธุรกิจที่ใส่ใจ ESG มีแนวโน้มดึงดูดนักลงทุนและพันธมิตรมากขึ้น

ตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจาก ESG

  • Tesla: ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
  • Unilever: ผลักดันโครงการที่ลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์
  • ธุรกิจพลังงาน: ที่ลงทุนในพลังงานสะอาด
  • ธุรกิจอาหาร: ที่ส่งเสริมการผลิตด้วยวัสดุธรรมชาติ

สรุป

การนำหลักการของ ESG  มาใช้ในองค์กรธุรกิจ สามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่น และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค, ชุมชน ไปจนถึงนักลงทุน ESG จึงนับเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ ในการช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันได้มากขึ้น


สนใจติดต่อพิมพ์ถ้วยกระดาษใส่อาหาร
คลิ๊ก >> Tumtook.com/Addline
Add Line : @Tumtook

Comment Box

บทความดีๆที่แนะนำ

สายคาดแก้ว หรือ ปลอกสวมแก้ว (Cup Sleeve) เป็นอุปกรณ์หลั...

การออกบูธ เป็นหนึ่งในวิธีที่ส่งผลลัพธ์ในการโปรโมทสินค้า...

โปสการ์ด เป็นกระดาษที่สามารถพิมพ์ภาพ และระบุรายละเอียดข...

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจตัดสินใจในการสั่...

สมัครงาน กับ Tumtook

กรอกข้อมูลให้สมบูรณ์