การเจรจาต่อรอง (Negotiation) เป็นลักษณะของการร่วมเจรจา ที่มี 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยใช้กระบวนการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) โดยมีการกำหนดเงื่อนไข และผลประโยชน์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนกัน เพื่อบรรลุผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายร่วมกัน เทคนิคการเจรจาต่อรองแบบไหน ที่จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจได้มากที่สุด ไปค้นหาคำตอบกันได้จากบทความนี้เลยค่ะ
เทคนิควิธีการเจรจาธุรกิจให้ได้ผล
- เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเจรจา
การวางแผน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเจรจา จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณได้ ในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาข้อมูลของคู่เจรจาอย่างละเอียด , การกำหนดเป้าหมายและขอบเขตที่สามารถยอมรับได้ และ การเตรียมข้อมูลสนับสนุนและการนำเสนอทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งการฝึกพูดอย่างคล่องแคล่ว เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ให้พร้อม ไม่เพียงช่วยลดความประหม่า แต่ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคุณได้อีกด้วย
- สร้างบรรยากาศที่ดี
สิ่งที่จะต้องเข้าใจในเรื่องชองการเจรจาต่อรองคือ จะต้องเห็นว่าคู่เจรจานั้นไม่ใช่เรื่องของการแข่งขัน แต่เป็นการหาทางออกร่วมกัน เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ก็จะไม่ทำให้การเจรจาดูตึงเครียด เพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน ดังนั้น ควรเริ่มต้นสนทนาเรื่องทั่วไปก่อน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย , มีการแสดงความเคารพและเป็นมิตร และไม่พลาดที่จะหาจุดร่วม เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในการเจรจาต่อรองธุรกิจต่อไป
- เป็นผู้ฟังที่ดี
ทั้งในเรื่องมุมมอง ความต้องการ และปัญหาของคู่เจรจา เพื่อที่จะสามารถเข้าใจในเป้าหมายหรือความต้องการของอีกฝ่าย โดยให้ความสนใจในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด , ให้สังเกตภาษากายและน้ำเสียง รวมถึงการถามคำถาม เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน
- มีการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา
ใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตรงประเด็น และตรงไปตรงมา โดยแฝงไว้ซึ่งความมั่นใจ และให้หลีกเลี่ยงการใช้คำที่จะทำให้เกิดการขัดแย้ง
- รู้จักการควบคุมอารมณ์
ให้รักษาความสงบภายใน หากรู้สึกว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังตึงเครียด โดยไม่แสดงความรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจ ควรรู้จักวิธีระงับอารมณ์ หากรู้สึกว่าเริ่มควบคุมอารมณ์ได้ยาก
- มุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ร่วมกัน
เป้าหมายของการเจรจาต่อรองธุรกิจ คือ การที่ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกันแบบ win-win ดังนั้น คุณควรนำเสนอถึงผลประโยชน์ที่อีกฝ่ายจะได้รับ แต่ต้องไม่มาในแนวขายฝัน อวดอ้างเกินจริง แต่เป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ และทำสำเร็จร่วมกัน
- เปิดใจยอมรับความเห็น
แน่นอนว่า คุณควรมีจุดยืนทางธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกัน ให้เรียนรู้ถึงความยืดหยุ่นด้วย โดยให้ยอมรับฟังความคิดเห็นของคู่เจรจา และปรับ เพื่อหาแนวร่วมที่ดีร่วมกันต่อไป
- รู้จังหวะในการปิดการเจรจา
สังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่า อีกฝ่ายพร้อมที่จะตกลงแล้ว หลังจากนั้น ให้มีการสรุปประเด็นสำคัญ และข้อตกลงที่ได้ร่วมกันต่อไป และอย่าลืมที่จะยืนยันข้อตกลงแบบเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง
เมื่อการเจรจาทางธุรกิจ สิ้นสุดลงด้วยดี ควรมีการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น มีการประเมินผลการเจรจา โดยพิจารณาว่าบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และให้เรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป ที่สำคัญ ให้ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจภายใต้มิตรภาพที่ดีร่วมกัน
สนใจติดต่อผลิตสินค้าแพคเกจจิ้ง และอุปกรณ์ออกบูธ
คลิ๊ก >> Tumtook.com/Addline
Add Line : @Tumtook